วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ร้านปลาปล่อย ราชบุรี


"ร้านปลาปล่อย"  นี้เป็นร้านหาบเร่แผงลอยตั้งร้านประจำอยู่ริมถนนศรีมหาเกษตร ตรงหน้าท่าเรือเทศบาลเมืองราชบุรี ข้างตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษตริย์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี ตั้งร้านตอนเช้ามืดจนกระทั่งสายๆ ก็จะเก็บร้าน เปิดจำหน่ายทุกวัน (ดูที่ตั้ง แผนที่ และพิกัดของร้าน)  การปล่อยปลาและสัตว์น้ำต่างๆ นับเป็นความเชื่อในทางพุทธศาสนา มีผู้คนนิยมไปซื้อปลาที่ร้านนี้แล้วนำมาปล่อยกันเป็นจำนวนมาก โดยการปล่อยปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ที่นำไปปล่อย มีความหมาย ดังนี้
  • ปลาชะโด : มีแต่สิ่งใหญ่โตเข้าบ้าน
  • ปลาไหล : การเงิน การงาน การเรียน
  • ปลาสามสี : เงิน ทอง นาค 
  • ปลาบู่ : ทดแทนผู้มีพระคุณ
  • ปลานิล : ทรัพย์สินเพิ่มพูน
  • ปลาทับทิม : ทำอะไรราบรื่น
  • ปลาขาว : เป็นปลานำโขค
  • ปลาไน : จะได้เป็นเจ้าคนนายคน
  • กบ : ขออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร
  • หอยขม : ทิ้งความขมขื่น จะร่มเย็นเป็นสุข ข้าทาสบริวารมาก
  • ตะพาบน้ำ : อายุมั่น ขวัญยืน
  • ปลายี่สก : จะประสพความสำเร็จ
  • ปลาหมอ : เพื่อสุขภาพ
  • ปลาดุก : ศัตรูแข่งแพ้พ่าย
  • ปลาช่อน : ช้อนเงินทอง, สิ่งซ่อนเร้นจะได้พบ
  • ปลาสวาย : เงินทอง คล่องตัว
  • ปลาจารเม็ด : จะได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • ปลาดุกเผือก : ปลามงคล
  • ปลาตะเพียน : เงินทองมากมี
  • ปลากราย : เคราะห์ร้ายกลายเป็นดี
จำนวนปลาและสัตว์ที่ปล่อยตามวันเกิด
  • วันอาทิตย์ ปล่อย 6,9 ชีวิต
  • วันจันทร์ ปล่อย 15 ชีวิต
  • วันอังคาร ปล่อย 8 ชีวิต
  • วันพุธกลางวัน ปล่อย 17 ชีวิต
  • วันพุธกลางคืน ปล่อย 12 ชีวิต
  • วันพฤหัสบดี ปล่อย 19 ชีวิต
  • วันศุกร์ ปล่อย 21 ชีวิต
  • วันเสาร์ ปล่อย 10 ชีวิต
หากท่านใดประสงค์จะซื้อปลาและสัตว์น้ำไปปล่อยสามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-0299-9815  (ดูที่ตั้ง แผนที่ และพิกัดของร้าน)
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรการฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4 ราชบุรี

ภาพจำลอง
ที่มา http://www.moph.go.th/
ผู้เขียนได้ไปอ่านพบ "หลักสูตรการฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน"  ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4 ราชบุรี ซึ่งเขียนไว้ใน คู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครแรงงานจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2554 ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานแรงงานจังหวัดราชบุรี  เห็นว่าเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ มีอยู่เป็นจำนวนมาก บางหลักสูตรผู้เขียนเอง ก็พึ่งทราบว่ามีการสอนด้วย ลองอ่านดูนะครับ อาจจะช่วยสะท้อนความคิดและมุมมองอะไรใหม่ๆ ที่อาจนำไปประยุกต์ เพิ่มเติมหรือแก้ไขปรับปรุงได้  หรือท่านใดสนใจ สามารถสมัครเข้าเรียนหรือฝึกได้โดยตรง จบแล้วอาจจะนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมอีกทางหนึ่งก็ได้

หลักสูตรการฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

สำหรับผู้ประสบภัยธรรมชาติ ผู้ตกงาน/ว่างงาน (รุ่นละ 16 คน ระยะเวลาฝึกแล้วแต่สาขาอาชีพ) จำนวน 33 สาขาอาชีพ ดังนี้
  1. การทอผ้าลายขิต/การทอผ้ายกดอก
  2. การทอผ้าลายเกล็ดเต่า
  3. การทอผ้ากี่กระตุก
  4. การทำน้ำยาเอนกประสงค์
  5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้า/การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้า/การประดิษฐรองเท้ารูปสัตว์จากผ้าพื้นเมือง
  6. การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
  7. การทำซิลค์สกรีน/การเพ้นผ้า
  8. ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม/การเย็บผ้าห่มเศรษฐกิจ
  9. การทำผ้าบาติก
  10. ช่างกัดลายกระจก
  11. ช่างทำไม้กวาด
  12. ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
  13. การใช้ไมโครซอฟท์ออฟฟิต
  14. การทำขนมอบเบเกอรี่
  15. การประกอบอาหารว่าง
  16. การประกอบอาหารไทย
  17. การทำขนมไทย
  18. การทำปาท่องโก๋
  19. การทำน้ำเต้าหู้
  20. การทำขนมอบ
  21. การนวดแผนไทย
  22. การนวดฝ่าเท้า
  23. ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์/การซ่อมบำรุงรถจักยานยนต์
  24. ช่างเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร
  25. ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
  26. ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
  27. ช่างพันมอเตอร์/ช่างพันมอเตอร์กระแสสลับ
  28. ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร/ช่างไฟฟ้า
  29. ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ/การซ่อมตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ
  30. ช่างซ่อมวิทยุโทรทัศน์/ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน/ช่างประกอบอิเลคโทรนิกส์
  31. ช่างเชื่อมเหล็กรูปพรรณ/ช่างเชื่อมไฟฟ้า/ช่างเชื่อมเหล็กดัด/การเชื่อมไฟฟ้าเหล็กหนาไม่เกิน 6 มม./การทำเหล็กดัด
  32. เทคนิคงานปูน ช่างทำโต๊ะเทียม/การทำโต๊ะเก้าอี้ชุดสนาม ไม้เทียม/การทำชุดรับแขกด้วยปูนซีเมนต์
  33. ช่างไม้เครื่องเรือน/ช่างทำเฟอร์นิเจอร์/ช่างทำเครื่องเรือน โครงการไม้จริง/ช่างแกะสลักไม้/การทำวงกบไม้
สำหรับผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน/นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนผู้สนใจ (รุ่นละ 16 คน ฝึกในตำบลหรือหมู่บ้าน) ดังนี้
  1. การเดินท่อและติดตั้งสุขภัณฑ์ (60 ชม.)
  2. การบำรุงรักษาระบบประปา (30 ชม.)
  3. การปูกระเบื้อง (60 ชม.)
  4. การทาสีอาคาร (30 ชม.)
  5. การก่ออิฐ-ฉาบปูน (60 ชม.)
  6. การทำมุ้งลวดและเพดานทีบาร์ (30 ชม.)
  7. การทำโต๊ะไม้เทียม (30 ชม.)
  8. การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร (60 ชม.)
  9. ช่างซ่อมเครื่องทำน้ำอุ่น (30 ชม.)
  10. การซ่อมตู้เย็นและตู้แช่ในครัวเรือน (60 ชม.)
  11. การติดตั้งระบบสัญญาณผ่านดาวเทียม (30 ชม.)
  12. การเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร (60 ชม.)
  13. การซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร (60 ชม.)
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ (รุ่นละ 20 คน) ดังนี้
  1. การทำสปาหน้า (6 ชม.)
  2. การทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (6 ชม.)
  3. การทำอาหารจานเดียวเพื่อสุขภาพ (6 ชม.)
  4. การทำพวงหรีดจากดอกไม้สด (6 ชม.)
  5. การทำพวงหรีดแบบแห้ง (6 ชม.)
  6. การแปรรูปกล้วย (6 ชม.)
  7. การแปรรูปสับปะรด (6 ชม.)
  8. การทำสบู่จากสมุนไพร (6 ชม.)
  9. การทำเต้าหู้นมสด (6 ชม.)
  10. การทำไอศครีมสมุนไพร (6 ชม.)
  11. การทำส้มตำทอด (6 ชม.)
  12. การทำปาท่องโก๋ (6 ชม.)
  13. การทำซาลาเปา (6 ชม.)
  14. การทำกาแฟสด (6 ชม.)
  15. การทำกาแฟโบราณ (6 ชม.)
  16. การทำโจ๊กฮ่องกง (6 ชม.)
  17. การทำพวงกุญแจเรซิ่น (6 ชม.)
  18. การร้อยลูกปัด (6 ชม.)
  19. การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (6 ชม.)
  20. การทำคุกกี๊ (12 ชม.)
  21. การทำและแต่งหน้าเค้ก (12 ชม.)
  22. การทำสปามือและเท้า (12 ชม.)
  23. การนวดน้ำมันหอมระเหย (12 ชม.)
  24. การทำดอกไม้จากเทียนหอม (12 ชม.)
  25. การทำขนมไทย (12 ชม.)
  26. การทำลูกประคบ (12 ชม.)
  27. การจัดดอกไม้สด (12 ชม.)
  28. การจัดช่อดอกไม้ (12 ชม.)
  29. การทำดอกไม้จันทน์ (12 ชม.)
  30. การผลิตกระทงจากใบตอง (12 ชม.)
  31. การทำยาหม่องและพิมเสนน้ำ (12 ชม.)
  32. การทำสบู่และยาสีฟันสมุนไพร (12 ชม.)
  33. การทำผลิตภัณฑ์ประดับสวนจากเรซิ่น (12 ชม.)
  34. การทำสลัดผักและผลไม้ (12 ชม.)
  35. การทำน้ำพริกจากผลผลิตทางการเกษตร (15 ชม.)
  36. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู (18 ชม.)
  37. การทำเทียนแฟนซี (18 ชม.)
  38. การทำกระเบื้องหินทรายประดับสวน (18 ชม.)
  39. การทำน้ำยาสุขภัณฑ์ (18 ชม.)
  40. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด (18 ชม.)
  41. การแปรรูปผลไม้ (18 ชม.)
  42. การทำไม้กวาดดอกหญ้า (18 ชม.)
  43. การทำตุ๊กตาจากผ้า (18 ชม.)
  44. การทำเบเกอรี่ (30 ชม.)
  45. การทำขนมอบ (30 ชม.)
  46. การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร (30 ชม.)
  47. การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว (30 ชม.)
  48. การปักจักร (60 ชม.)
  49. การตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี (60 ชม.)
  50. พนักงานนวดแผนไทย (80 ชม.)
ติกต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4 ราชบุรี โทร.0-3233-7609-12 อีเมลล์ radburi@dsd.go.th

ที่มาข้อมูล
สำนักงานแรงงานจังหวัดราชบุรี. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครแรงงานจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2554 สำหรับอาสาสมัครแรงงาน. ราชบุรี : ประเสริฐการพิมพ์.
อ่านต่อ >>